ประเภทของคอมพิวเตอร์
• ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
• เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe)
• มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
•เวิร์คเตชัน (Workstation)
• ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
• พีดีเอ (PDA – Personal Digital Assistant)
• คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded computers)
ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
• เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีความสามารถในการประมวลผลสูงมาก
• เหมาะกับงานที่มีความซับซ้อนสูงมาก เช่น งานอุตสาหกรรมน้ำมัน การคำนวณเพื่อพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
• ราคาแพงมาก ต้องติดตั้งในที่ ๆ มีการปรับอุณหภูมิ ปราศจากฝุ่นละออง• ประสิทธิภาพการทำงาน จะวัดเป็น กิกะฟลอป (Gigaflop) – การคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งของการคำนวณตัวเลขระดับทศนิยมต่อหนึ่งวินาที
• ตัวอย่าง ของคอมพิวเตอร์แบบนี้ คือ CRAY-2 CRAY-T90
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe)
• เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่และประสิทธิภาพรองลงมา และเป็นที่นิยมตามองค์กรขนาดใหญ่ มีราคาแพงรองลงมา นิยมนำมาใช้ในงานที่มีการรับและแสดงผลข้อมูลจำนวนมาก โดยมากจะถูกนำไปใช้ในหน่วยงานประเภทที่ให้บริการแก่คนจำนวนมาก เช่น ธนาคาร มหาวิทยาลัย เป็นต้น• ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจะวัดเป็น เมกะฟลอป (Megaflop) หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งของการคำนวณตัวเลขระดับทศนิยมต่อหนึ่งวินาทีเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe) ต่อ
• โดยทั่วไปแล้วระบบการทำงานของเครื่องประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ เพื่อช่วยในการทำงานแก่เครื่องหลักได้แก่
– เครื่องโฮส (Host processor) เป็นเครื่องหลักที่มีหน้าที่ควบคุมหน่วยประมวลผล อุปกรณ์รอบข้างและการคำนวณต่าง ๆ
– เครื่องส่วนหน้า (Front-end processor) มีหน้าที่ควบคุมการติดต่อระหว่างหน้าจอของ ผู้ใช้งาน ที่เรียกว่าจอเทอร์มินัลระยะไกล (Remote terminal) กับระบบ เครื่องโฮส
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
• คล้ายกับเครื่องเมนเฟรมแต่ขนาดเล็กกว่า ราคาถูกกว่า
• ความเร็วในการประมวลผลช้ากว่า สื่อการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ความจุน้อยกว่าเมนเฟรม• ใช้งานได้พร้อมๆกันหลายคน -เครื่องปลายทางต่อเชื่อมได้
• ประมวลผลในของหน่วยงานขนาดกลาง
– งานควบคุมผลผลิต
– งานบัญชีและการเงิน
– งานออกแบบทางวิศวกรรม
เวิร์คเตชัน (Workstation)
• เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบชนิดใช้คนเดียว จะถูกควบคุมโดยผู้ใช้โดยตรง โดยไม่ต้องไปแย่งเวลา โพรเซสเซอร์ กับคนอื่นสามารถใช้ควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ได้ เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ• ส่วนมากใช้ในงานเกี่ยวกับ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม อาจมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ซูเปอร์ไมโคร (Super micro)
• ตัวอย่างคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ คือ Sun Workstation
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
• มีขนาดเล็ก ราคาถูก เป็นที่นิยมง่าย
• เหมาะสำหรับใช้งานเฉพาะบุคคล งานด้านการจัดการทั่วไป เช่นการพิมพ์ การเก็บข้อมูลขนาดเล็ก
• เชื่อมต่อในเครือข่ายได้
Microcomputer (Laptop)
พีดีเอ (PDA – Personal Digital Assistant)
• มีขนาดเล็กมาก สามารถวางบนฝ่ามือได้ และอาจจะใช้ปากกาที่เรียกว่า สไตล์ลัส (Sytylus) เพื่อเขียนข้อความบนจอภาพเพื่อป้อนข้อมูลเข้าเครื่อง
• ความสามารถเกือบเทียบเท่า PC
• ต่อ internet ได้ เล่นเพลงได้ หรือแม้แต่ใช้เป็นโทรศัพท์ไร้สายได้ด้วย
• ตัวอย่าง ได้แก่ PalmVX, Handspring(Visor),PoketPC(HP)
คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded computers)
• เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไว้ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้มองไม่เห็นจากรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ นิยมใช้ในการทำงานเฉพาะด้าน เพื่อควบคุมการทำงานบางอย่าง
• เช่น เตาอบไมโครเวฟ นาฬิกาข้อมือบางประเภท มือถือ เป็นต้น
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information) ข้อมูล (Data)
ในระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึงสิ่งที่เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งหมดนี้จะมีจำนวนมากอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร กราฟฟิก สิ่งเหล่านี้ยังไม่ได้รับการประมวลผลใดๆ จึงเป็น ข้อมูลที่ต้องการได้รับการประมวลผลเพื่อทราบผลลัพธ์ หรือต้องการจัดเก็บให้เป็นระบบระเรียบเพื่อใช้งานต่อไปสารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยขั้นตอนในการประมวลคือมีการรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลว่าข้อมูลนั้นจริงเท็จอย่างไร แล้วนำไปดำเนินการประมวลผลโดย ใช้วิการจัดแบ่งข้อมุล แบ่งเป็นกลุ่มๆตามประเภทและจัดเรียงข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและ สุดท้ายการคำนวณข้อมูล ซึ่งข้อมุลบางตัวนั้นอาจจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขจึงจะต้องมีการคำนวณเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งานและเป็นข้อมุลสุดท้ายที่ได้มานั้นดีที่สุด และหลังจากการประมวลผลแล้วนั้นเราก็ต้องจัดเก็บข้อมูล โดยอาจจะใช้การจัดเก็บลงเครื่องหรือสื่อบันทึกต่างๆ เพื่อจะได้ง่ายต่อการเรียกใช้งาน อีกด้วยดังนั้นจึงสรุปได้ว่า "ข้อมูล" คือ ข่าวสาร ข้อความรูปภาพ เสียง หรืออะไรต่างๆ ที่อยู่ในหลายๆ รูปแบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล หรือจัดกลุ่ม เรียบเรียงอะไรทั้งสิ้น ยังไม่สามารถที่จะนำไปใช้งานได้ จะแตกต่างกับ "สารสนเทศ" นั้นคือ สารสนเทศ เป็นข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรอง หรือประมวลผลในรูปแบบหรือกรรมวิธีต่างๆแล้ว เป็นข้อมูลที่สะดวกต่อการใช้งาน ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลที่ดีที่สุด สามารถนำมาอ้างอึง ใช้งานได้เลย
อ้างอิง คัดลอก และตัดต่อบทความมาจาก
http://board.dserver.org/k/kitty2001/00000023.html
มีความสัมพันธ์กัน (relevant)สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมีความทันสมัย (timely)ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการมีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้อง ถูกต้องในทุกส่วนมีความกระชับรัดกุม (concise)ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
VLSI คือ
วีแอลเอสไอ <คำอ่าน>ย่อมาจาก very large scale integration (แปลว่า วงจรรวมความจุสูงมาก) คือชิป (chip) ที่สามารถนำประตู (gate) มารวมกันได้ถึง 100,000 ประตูหรือมากกว่านั้น แล้วนำมาใช้เป็นตัวประมวลผล ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงได้มากมีความสำคัญต่อคอมพิวเตอร์ คือ เป็นตัวเดียวเก็บหน่วยควบคุมและหน่วยคำนวณ/ตรรกะ (Control Unit and Arithmetics/Logical Unit) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ในเครื่องคอมพิวเตอร์
ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน
1.ใช้Adobe Photoshopในการฝึกตกแต่งรูปทั่วๆไป
2.ใช้SWiSHmaxในการฝึกสร้างภาพเคลื่อนไหว
3.ฝึกการใช้ VB2005 เพื่อสร้างโปรแกรมขึ้นใช้เองตามความสามารถของตน
4.ใช้ทำงานทั่วๆไป เช่น พิมพ์งาน(Microsoft Office) ฟังเพลง (Win amp)ดูหนัง(Cyber Link Power Cinema) และอื่นๆทั่วๆไป
5.และรับคอมพิวเตอร์มาซ่อมในห้องเช่า
เอกสารอ้างอิง
• จรัสศรี รุ่งรัตนาอุบล (2548). คอมพิวเตอร์สารสนเทศขั้นพื้นฐาน (เอกสารประกอบการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร
• ประศาสตร์ บุญสนอง (2544). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 4.) พิษณุโลก : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
• Larry Long, Nancy Long (1997). Introduction to Computers and Information Systems. (5th ed.). Upper Saddle River, N.J. : Prentice-Hall International
ขอขอบคุณ http://www.google.co.th/ ในการสืบค้นข้อมูล